ความรู้เกี่ยวกับประกัน
ค่าใช้จ่ายในการรักษา RSV เริ่มตั้งแต่หลักหมื่นไปจนถึงหลักแสน เพราะเชื้อจะลงปอด ทำให้มีอาการไอนานหลายวัน อาจใช้เวลารักษาตั้งแต่ 5-10 วัน และในบางเคสอาจต้องเข้าห้อง ICU เพื่อติดตามอาการอย่างใกล้ชิด
ให้ประกันสุขภาพเด็กจากเอไอเอ คุ้มครองการเงินของคุณและคุ้มครองลูกน้อยให้ได้รักษาในโรงพยาบาลเอกชนได้ทั่วไทย ไม่ต้องมีค่ารับผิดส่วนแรก หมดเขตซื้อได้ภายใน 16 ต.ค. นี้
ประกันสุขภาพเด็กคุ้มครอง RSV (อย่ารอให้ลูกป่วย)
“OPD” และ “IPD” คืออะไร ?
OPD (Out Patient Department) คือ “ผู้ป่วยนอก” หมายถึงผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาแต่ไม่ได้นอนพักรักษาในโรงพยาบาล (แอดมิท-Admit) เมื่อได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ จ่ายยาเสร็จก็สามารถกลับบ้านได้ในวันที่เข้ามารับการรักษา ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้ป่วยที่ไม่ได้มีปัญหาสุขภาพร้ายแรง เช่น ปวดท้อง ปวดหัว เป็นหวัด ผดผื่นคัน หรือ อุบัติเหตุที่ไม่รุนแรง
ประกัน OPD หรือประกันสุขภาพ OPD คือ ประกันที่คุ้มครองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยนอกที่ไม่ต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาล ซึ่งค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยนอกจะอยู่ในรูปแบบค่าปรึกษาแพทย์ ค่ารักษาพยาบาล ฉีดยา ทำแผล ค่ายารักษาโรค เป็นต้น
ทั้งนี้ AIA มีสัญญาเพิ่มเติมประกันสุขภาพที่ครอบคลุมค่าใช้จ่าย OPD ได้แก่ AIA H&S Extra (New Standard), AIA Health Saver และ AIA Health Happy
ประกันสุขภาพส่วนใหญ่จะคุ้มครองผู้ป่วยในเป็นหลัก เพราะเป็นค่าใช้จ่ายที่สูง ครอบคลุม ค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าบริการทางการแพทย์ ค่ายา ค่าผ่าตัด ค่าวินิจฉัยโรค ค่าผู้ประกอบวิชาชีพ และอื่นๆ ซึ่งค่าใช้จ่ายเริ่มต้นจะอยู่ที่ประมาณ 15,000 – 20,000 ต่อวัน ในโรงพยาบาลเอกชนทั่วไป
ประกันสุขภาพสำหรับ IPD มี 2 ประเภท
- แบบเหมาจ่าย (เหมาะกับคนที่มีกำลังทรัพย์เพียงพอ และไม่ต้องการปวดหัวกับรายจ่ายยิบย่อย เจ็บแต่จบ!)
- แบบจำกัดวงเงิน (ค่าเบี้ยถูกกว่า แต่อาจจะต้องจ่ายส่วนต่างเอง) ทั้งนี้ AIA มีประกันสุขภาพที่ครอบคลุมถึงโรคร้ายแรง โรคมะเร็ง ทั้งแบบงบจำกัด และแบบครอบคลุมการเป็นซ้ำได้หลายครั้งอีกด้วย
เลือกประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย หรือ ประกันโรคร้ายแรง? แบบไหนดีกว่ากัน?
ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย
เป็นประกันแบบที่มี “วงเงินค่ารักษา” ต่อปีให้แบบเหมาจ่าย ค่ารักษาเท่าไร ก็เบิกกับบริษัทประกันได้ตามวงเงินคุ้มครอง โดยจะมีข้อจำกัดเพียงบางรายการ เช่น ค่าห้องต่อวัน ค่าแพทย์ตรวจต่อวัน และค่ายากลับบ้าน (ทุกแบบมีข้อจำกัดแบบนี้ทั้งหมดค่ะ ไม่ว่าจะบริษัทไหน) ทั้งนี้รายละเอียดก็อาจจะแตกต่างกันไปตามเงื่อนไขและข้อกำหนดของแต่ละกรมธรรม์ ดังนั้น ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายจึงช่วยให้เราสามารถเข้าถึงการรักษาที่ดี พร้อมแบ่งเบาค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาลได้
ประกันโรคร้ายแรง
ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายและประกันโรคร้ายแรงต่างก็มีข้อดีและตอบจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน ดังนั้นในการเลือกจึงต้องพิจารณาความเสี่ยงการเจ็บป่วยของเราและความต้องการของเราว่าต้องการความคุ้มครองแบบใดบ้าง ประกันกลุ่มหรือสวัสดิการจากบริษัทที่เรามีอยู่เดิมครอบคลุมมากน้อยแค่ไหน และตัวเรามีความสามารถในการชำระเบี้ยประกันภัยมากน้อยเพียงใดเพื่อพิจารณาว่าประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายหรือประกันโรคร้ายแรงที่จำเป็นสำหรับเรามากกว่ากัน
แต่ดีที่สุดก็คือ การซื้อ ”ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย” คู่กับ “ประกันโรคร้ายแรง” ค่ะ เพราะสามารถตอบโจทย์คนที่มีภาระค่าใช้จ่ายจำนวนมากและคนที่ไม่มีเงินก้อนได้เป็นอย่างดี ช่วยแบกรับภาระค่าใช้จ่ายได้ ไม่ว่าจะเจ็บป่วยกรณีใดก็ตาม เรียกได้ว่าเป็นตัวจบที่ให้เราหมดห่วงเรื่องสุขภาพไปได้เรื่องหนึ่ง
ควรตั้งงบทำประกันสุขภาพเท่าไรดี?
ถ้าตอบแบบตรงไปตรงมาก็คงต้องบอกว่า ยิ่งมีความคุ้มครองเยอะ ยิ่งดีค่ะ แต่งบประมาณก็จะมากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นจึงต้องแบ่งพิจารณาสองส่วน คือ “ความคุ้มครองที่เราต้องการ” กับ “งบประมาณที่สามารถจ่ายได้” มาชั่งน้ำหนักกัน โดยมี 4 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ตรวจสอบสวัสดิการที่มี ณ ปัจจุบัน
โดยทั่วไปแล้วเรามักจะมีสวัสดิการเรื่องการรักษาพยาบาลติดตัวอยู่บ้าง ขั้นตอนแรกเราต้องกลับมาตรวจดูที่ตัวเราก่อนว่า ณ ปัจจุบันเรามีสวัสดิการอยู่ที่ไหนและเท่าไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นประกันกลุ่ม ประกันสังคม บัตรทอง รวมถึงประกันสุขภาพเล่มที่มีอยู่ และมีผลบังคับใช้อยู่ ณ ปัจจุบัน
ขั้นตอนที่ 2 สำรวจว่าเราต้องการความคุ้มครองเท่าไร
ขั้นตอนที่ 3 หาส่วนต่างระหว่างข้อ 1 และข้อ 2
ขั้นตอนที่ 4 พิจารณาค่าเบี้ยประกันภัยที่เหมาะสม
เลือกอะไรดีระหว่าง RMF กับ ประกันบำนาญ เพื่อเกษียณ
5 ข้อหลักในการเปรียบเทียบ
สิ่งไม่เหมือนกันคือ RMF มีนโยบายการลงทุนหลากหลาย ขึ้นกับนโยบายการลงทุน มีโอกาสเพิ่มความมั่งคั่ง แต่มีโอกาสเกิดความไม่แน่นอน ของผลตอบแทนหลังเกษียณได้
ประกันบำนาญ แหล่งรายได้มีความแน่นอน จะการันตีเงินได้ ในช่วงหลังเกษียณให้กับคุณค่ะ
ประกันบำนาญเหมาะกับใคร และควรทำตอนไหน?
ประกันบำนาญเหมาะกับคนที่อายุ 30-55 ปี หรือคนที่อยากเริ่มต้นวางแผนและสร้างความมั่นคงให้ชีวิต ต้องการผลตอบแทนที่มั่นคง ไม่ชอบใช้เงินไปกับการลงทุนที่มีความเสี่ยง รวมถึง คนที่วางแผนจะใช้ชีวิตโสดไปตลอดชีวิตและคนที่ไม่อยากเป็นภาระลูกหลานในอนาคต
ควรทำประกันบำนาญตอนไหน?
คำตอบก็คือ “ควรซื้อเมื่อพร้อม” โดยวิเคราะห์แล้วว่าเป็นช่วงเวลาที่คุณมีความพร้อมด้านการเงิน หรือมีการบริหารเงินที่ดีแล้วนั่นเอง เนื่องจากประกันบำนาญเป็นการทำสัญญาระยะยาว ที่ใช้เวลาจ่ายเบี้ยประกันอย่างน้อย 5 ปี จนกว่าจะอายุครบ 60 ปี หรือถ้าเริ่มตั้งแต่อายุยังน้อย ก็สามารถเลือกอายุเกษียณได้ที่อายุ 55 ปี(ประกันบำนาญของ AIA สามารถทำได้ตั้งแต่อายุ 20-55 ปี) แปลว่าคุณจะต้องมีรายได้ที่มั่นคง มีวินัยทางการเงินที่ดีมากพอ เพราะหากไม่สามารถชำระเบี้ยประกันได้อย่างต่อเนื่อง หรือมีการยกเลิกกรมธรรม์ก่อนหมดอายุสัญญา จะทำให้คุณไม่ได้รับผลประโยชน์จากประกันอย่างเต็มที่
อีกหนึ่งข้อพิจารณาคือ ยิ่งทำประกันตอนอายุยังน้อย เบี้ยประกันก็จะน้อยตามไปด้วย หากตัดสินใจทำประกันบำนาญตอนอายุเยอะแล้ว ค่าเบี้ยประกันก็จะสูงตามไปด้วย (หลักการนี้ก็ Apply กับประกันทุกรูปแบบนะคะ ยิ่งอายุเยอะ ความเสี่ยงยิ่งสูงค่ะ)