ประกันสุขภาพวัยทำงาน
ค่าใช้จ่ายในการรักษา RSV เริ่มตั้งแต่หลักหมื่นไปจนถึงหลักแสน เพราะเชื้อจะลงปอด ทำให้มีอาการไอนานหลายวัน อาจใช้เวลารักษาตั้งแต่ 5-10 วัน และในบางเคสอาจต้องเข้าห้อง ICU เพื่อติดตามอาการอย่างใกล้ชิด
ให้ประกันสุขภาพเด็กจากเอไอเอ คุ้มครองการเงินของคุณและคุ้มครองลูกน้อยให้ได้รักษาในโรงพยาบาลเอกชนได้ทั่วไทย ไม่ต้องมีค่ารับผิดส่วนแรก หมดเขตซื้อได้ภายใน 16 ต.ค. นี้
ประกันสุขภาพเด็กคุ้มครอง RSV (อย่ารอให้ลูกป่วย)
หากคุณอายุไม่เกิน 40 ปี และต้องการมีประกันสุขภาพแบบไม่จ่ายเบี้ยทิ้ง
หยุดจ่ายเบี้ยได้เมื่อไม่มีรายได้หลังเกษียณและยังได้รับความคุ้มครองสุขภาพถึงอายุที่กำหนด*
ประกัน UDR หรือ Unit Linked (ยูนิต ลิงค์ จาก AIA คือ คำตอบที่ใช่สำหรับคุณ
UDR หรือ Unit Linked (ยูนิต ลิงค์) คืออะไร? ทำไมถึงมีคำนี้ต่อท้าย
ปกติแล้วสัญญาเพิ่มเติมของ AIA จะมีทั้งแบบ PPR ที่มีการชำระเบี้ยประกันภัยแยกต่างหากจากเบี้ยประกันภัยของสัญญาหลัก และมีระยะเวลาเอาประกันภัย 1 ปี ซึ่งอาจต่ออายุได้
สัญญาเพิ่มเติมแบบ UDR ซึ่งย่อมาจาก Unit Deducting Rider คือสัญญาเพิ่มเติมแบบชำระค่าการประกันภัยโดยการขายคืนมูลค่าหน่วยลงทุน
UDR หรือ Unit Linked (ยูนิต ลิงค์) เหมาะกับใคร?
ประกันชีวิตควบการลงทุน (ยูนิต ลิงค์) เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่ต้องการทั้งความคุ้มครองชีวิต และเพิ่มโอกาสในการได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูงกว่าแบบประกันชีวิตทั่วไป ด้วยการลงทุนในกองทุนรวมซึ่งบริหารโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) รวมทั้งสามารถยอมรับความเสี่ยงจากการลงทุนได้ในขณะเดียวกัน ประกันชีวิตในลักษณะนี้จึงให้ทั้งความมั่นคงและมั่งคั่งภายในกรมธรรม์เดียว โดยผู้เอาประกันภัยสามารถเลือกรูปแบบการลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ผู้เอาประกันภัยสามารถรับได้
คุ้มครองสุขภาพแบบระยะยาว
ใช้เงินให้คุ้มค่า จ่ายแล้วงอกเงย
มีเงินเก็บเพิ่มจากการดูแลสุขภาพตัวเอง
Get Healthy Get Wealthy
*** ข้อดีของสัญญาเพิ่มเติม UDR หรือ Unit Linked (ยูนิต ลิงค์) ***
- ไม่ใช่เบี้ยจ่ายทิ้ง ค่าเบี้ยทั้งหมดหลังหักค่าธรรมเนียมจะนำไปลงทุนในกองทุนรวม สร้างโอกาสได้ผลตอบแทนให้กับเจ้าของกรรมธรรม์ (เลือกกองทุนได้ตามระดับความเสี่ยง และสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม)
- เบี้ยประกันภัยคงที่ตลอดสัญญา แม้จะมีเคลมมากน้อยแค่ไหนก็ไม่ปรับเพิ่มขึ้นตามอายุของผู้เอาประกันภัย
- จ่ายเบี้ยรวมน้อยกว่าในระยะยาว ประหยัดได้เป็นหลักล้าน (ดูตารางเปรียบเทียบได้ด้านล่าง ระหว่างเบี้ยจ่ายทิ้งแบบ PPR และเบี้ยประกันแบบ UDR เทียบตามช่วงอายุ)
- สามารถวางแผนค่าใช้จ่ายเรื่องเบี้ยประกันภัยในระยะยาวได้เป็นอย่างดี สามารถเลือกความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลได้จนถึงอายุ 99 ปี
- วางแผนหยุดจ่ายเบี้ยได้ โดยใช้ผลตอบแทนจากการลงทุนมาจ่ายค่าเบี้ยให้แทน และยังได้รับความคุ้มครองประกันสุขภาพตามอายุที่กำหนด
- คุ้มครองทุกโรค เข้าได้ทุกโรงพยาบาลทั้งรัฐบาลและเอกชนทั่วประเทศ
- คุ้มครองผู้จ่ายเบี้ยประกัน กรณีทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง ไม่สามารถชำระเบี้ยประกันได้ บริษัทจะจ่ายผลประโยชน์เท่ากับเงินเอาประกันภัย โดยกรรมธรรม์จะยังมีผลบังคับต่อไป ตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของกรมธรรม์
- เบิ้ลความคุ้มครองเป็น 2 เท่า สำหรับ 6 โรคร้ายแรง*
- ต่ออายุรับประกันภัยสัญญาเพิ่มเติม UDR หรือ Unit Linked (ยูนิต ลิงค์) โดยอัตโนมัติ ตราบเท่าที่มูลค่าหน่วยลงทุนในกรมธรรม์ เพียงพอที่จะนำไปหักค่าใช้จ่าย
- กรณีเสียชีวิตจะได้รับเงินเอาประกันภัยหลัก + มูลค่ารับซื้อคืนหน่วยลงทุน (หากเป็นประกันทั่วไปจะได้รับเพียงเงินเอาประกันภัยหลักเท่านั้น)
เพิ่มความคุ้มครองเป็น 2 เท่า ต่อเนื่อง 4 ปีกรมธรรม์ กรณีพบโรคร้ายแรงตามคำนิยามดังต่อไปนี้
- กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด (Acute Heart Attack)
- โรคหลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน (Major Stroke)
- การผ่าตัดเส้นเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ (Coronary Artery By-Pass Surgery)
- โรคมะเร็งระยะลุกลาม (Invasive Cancer)
- การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะหรือปลูกถ่ายไขกระดูก (Major Organs Transplantation or Bone Marrow Transplantation)
- การผ่าตัดเส้นเลือดแดงใหญ่ เอออร์ตา (Surgery to Aorta)
สัญญาเพิ่มเติมแบบ PPR
PPR ย่อมาจาก Premium Payment Rider คือ สัญญาเพิ่มเติมทั่วไป ซึ่งมีการชำระเบี้ยประกันภัยแยกต่างหากจากเบี้ยประกันภัยของสัญญาหลัก โดยสัญญาเพิ่มเติมเป็นสัญญาประกันภัยที่มีระยะเวลาเอาประกันภัยปีต่อปี และเบี้ยประกันภัยจะปรับเพิ่มขึ้นตามความเสี่ยงและอายุ
*** ข้อดีของประกันสุขภาพแบบ PPR (Premium Payment Rider) ***
- การต่ออายุง่าย: สามารถต่ออายุกรมธรรม์ทุกปีโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการตรวจสุขภาพใหม่ ทำให้สะดวกในการรักษาความคุ้มครองโดยไม่ต้องผ่านเงื่อนไขซับซ้อน
- ไม่ต้องปรับเปลี่ยนบ่อย: เหมาะสำหรับคนที่ต้องการความมั่นคงและไม่ต้องการปรับเปลี่ยนกรมธรรม์หรือเงื่อนไขทุกปี
- เหมาะกับผู้ที่ต้องการความมั่นคงทางการเงิน สามารถยอมรับได้ว่าค่าเบี้ยประกันจะเพิ่มขึ้นตามอายุ แต่ก็สามารถวางแผนได้ในแต่ละปีว่าต้องใช้ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่
- เหมาะกับผู้ที่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพต่ำ: สำหรับคนที่สุขภาพยังแข็งแรง แต่ต้องการสร้างความมั่นใจว่ามีการคุ้มครองสุขภาพระยะยาวในกรณีที่เจ็บป่วยหรือมีเหตุฉุกเฉินในอนาคต
โดยสรุปแล้ว UDR หรือ Unit Linked (ยูนิต ลิงค์) อาจเหมาะสำหรับคนที่ต้องการแบบประกันที่มีความยืดหยุ่นทั้งในเรื่องทุนประกันชีวิตและเบี้ยประกัน มีความโปร่งใสในเรื่องค่าใช้จ่าย มีความเข้าใจในการลงทุนในกองทุนรวมพอสมควร และต้องการได้รับผลตอบแทนคาดหวังที่สูงกว่าประกันชีวิตแบบดั้งเดิม ในขณะที่ PPR เหมาะกับผู้ที่ต้องการความคุ้มครองสุขภาพที่ต่อเนื่อง มั่นคง และไม่ต้องการปรับเปลี่ยนรายละเอียดบ่อยๆ
ต้องการความยืดหยุ่น
ต้องการรับผลตอบแทนที่สูงกว่าประกันแบบดั้งเดิม
เปรียบเทียบการจ่ายเบี้ยระยะยาวสำหรับเพศชาย อายุ 35 ปี
กรณีที่ 1 ประกันชีวิต AIA 20 Pay Life + AIA Health Happy (PPR) แผน 5 ล้าน
กรณีที่ 2 ประกันชิวิต AIA Issara Plus + AIA Health Happy@99 (UDR) แผน 5 ล้าน
จะเห็นได้ว่า หากจ่ายเบี้ยประกันชีวิตที่จำนวนเท่ากัน 12,000 บาท แต่มีค่าเบี้ยประกันสุขภาพที่ต่างกันตามช่วงอายุ เมื่อคำนวณการจ่ายเบี้ยระยะยาวตั้งแต่อายุ 35-85 ปี จะใช้จำนวนเงินที่ต่างกันถึง 1,912,746 บาท
และเปรียบเทียบเมื่อตอนอายุ 61 ที่เกษียณจากการทำงาน และไม่มีรายได้แล้ว หากต้องการทำประกันสุขภาพ แม้ไม่ต้องจ่ายเบี้ยประกันชีวิตที่เป็นสัญญาหลักแล้ว แต่ก็มีค่าเบี้ยที่สูงขึ้นสวนทางกับรายได้ที่ลดลง
ในกรณีของ UDR หรือ Unit Linked (ยูนิต ลิงค์) คุณจะสามารถหยุดจ่ายเบี้ยเมื่อเกษียณอายุ และยังได้รับความคุ้มครองประกันสุขภาพไปจนถึงอายุ 85 ปี หรือเลือกปรับเปลี่ยนการจ่ายเบี้ยเพิ่มเติมเพื่อรับความคุ้มครองประกันสุขภาพไปจนถึงอายุ 99 ปี
เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้น ด้านล่างคือการคำนวณเบี้ยประกันของผู้เอาประกันเพศชาย อายุ 35 ปี เลือกความคุ้มครองหลัก 1,000,000 บาท จ่ายเบี้ยฯ 12,000 บาท และแนบสัญญาประกันสุขภาพ AIA Health Happy-UDR (@99) แผน 5 ล้าน เบี้ยฯ 67,479 บาท รวมเป็นเบี้ยฯ ต่อปี 79,479 บาท
เมื่อเกษียณอายุ ผู้เอาประกันขอหยุดการชำระเบี้ยตั้งแต่อายุ 61 ปี เป็นต้นไป โดยยังได้รับความคุ้มครองประกันสุขภาพ AIA Health Happy-UDR แผน 5 ล้านบาทไปจนถึงอายุ 85 ปี แต่หากเสียชีวิตก่อนวันสิ้นสุดสัญญา ผู้เอาประกันจะได้รับผลประโยชน์จากเงิน 2 ก้อน คือ เงินทุนประกัน 1,000,000 บาท และมูลค่ารับซื้อคืนกองทุนรวม 2,149,968.56 บาท รวมเป็นเงิน 3,149,968.56 บาท* เมื่อเทียบกับประกันแบบ PPR จะได้รับเงินทุนประกันที่ 515,021.46 บาท
นอกจากนี้ ยังมีผลประโยชน์จาก TPD (Total and Permanent Disability) หรือการคุ้มครองกรณีทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง (ไม่สามารถประกอบอาชีพหรือดูแลตัวเองได้ตลอดชีวิต) บริษัทประกันจะจ่ายเงินชดเชยตามที่ระบุไว้ในสัญญา โดยเป็นการจ่ายผลประโยชน์เพียงครั้งเดียวตลอดอายุกรรมธรรม์ ซึ่งกรรมธรรม์จะยังคงมีผลบังคับต่อไป ตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของกรมธรรม์
* ไม่มีการรับประกันผลตอบแทน ตัวเลขที่แสดงในตารางคำนวณผลประโยชน์เป็นเพียงตัวอย่างเพื่อความเข้าใจ
และหากซื้อสัญญาเพิ่มเติม อาทิ ค่าชดเชยรายวันกรณีเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในของโรงพยาบาล AIA HB Extra หรือมีการกำหนดทุนประกันที่สูงพอ ผู้เอาประกันจะได้รับสิทธิ Vitality และมี Vitality Cashback ให้อีกด้วย ช่วยสร้างวินัยในการตรวจเช็คสุขภาพด้วยตนเอง และยังได้รับเงินคืนพิเศษจากการเก็บคะแนนการดูแลสุขภาพในระยะยาว
เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้น ด้านล่างคือการคำนวณเบี้ยประกันของผู้เอาประกันเพศชาย อายุ 35 ปี เลือกความคุ้มครองหลัก 1,000,000 บาท จ่ายเบี้ยฯ 12,000 บาท และแนบสัญญาประกันสุขภาพ AIA Health Happy-UDR (@99) แผน 5 ล้าน เบี้ยฯ 67,479 บาท รวมเป็นเบี้ยฯ ต่อปี 79,479 บาท หากชำระเบี้ยต่อเนื่องไปจนถึงอายุ 60 ปี เบี้ยรวมทุกอย่างจะอยู่ที่ 2,066,454 บาท พร้อมกับสิทธิ์ Vitality Cashback (Flexing Status) เป็นเงิน 780,249.44 บาท เท่ากับว่าจ่ายเบี้ยฯ รวมไปหลังหักเงินคืนพิเศษแล้วคือ 1,286,204.56 บาท*
สร้างวินัยดูแลสุขภาพด้วยตนเอง
รับเงินคืนพิเศษจาก AIA Vitality
จ่ายเบี้ยน้อยลง
ดาวน์โหลดโบรชัวร์
เกี่ยวกับตัวแทน
แม่แอ้ (มุนิสรา อังศุธรรม)
ตัวแทนประกันชีวิต AIA เลขที่ใบอนุญาต : 6701030394
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA Regular 22) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้คำปรึกษาด้านการวางแผนการเงินและประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ประกันบำนาญ ประกันสะสมทรัพย์โดยมืออาชีพ
โทรสอบถามเรา : 089 812 2084